ข้อแนะนำเสนอผลงานทางวิชาการ
ข้อแนะนำเสนอผลงานทางวิชาการ
- ส่งผลงานทางวิชาการ ผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์นี้ (โดยท่านต้องทำการลงทะเบียนก่อน แล้วจึงล็อกอินเข้าสู่ระบบผู้สมัครเพื่อส่งผลงานวิชาการ)
- ผู้ส่งผลงานทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ต้องส่งไฟล์เรื่องเต็มและบทคัดย่อ โดยเรื่องเต็มมีความยาว 4-8 หน้ากระดาษ A4 โดยมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามแบบฟอร์มบทคัดย่อ
- บันทึกเรื่องเต็มเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ส่งผ่านระบบออนไลน์ ในรูปแบบ Microsoft Word โดยแยก เป็น 2 Files
- ขอให้ตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกดให้เรียบร้อย ฝ่ายจัดพิมพ์จะนำข้อความที่ส่งมาจัดทำหนังสือเรื่องเต็มและบันทึกลงแผ่นซีดี โดยไม่มีการพิสูจน์อักษรซ้ำอีก และไม่รับผิดชอบคำผิดนั้น
- สมัครออนไลน์ พร้อมแนบทั้ง 2 Files ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 2555
**ผู้เสนอผลงานสามารถชำระค่าลงทะเบียนส่งผลงานตามรายละเอียด วิธีการชำระเงิน
วิธีการพิมพ์เรื่องเต็ม
- ให้ตั้งค่าหน้ากระดาษดังนี้ บน (Top) 0.8” ,ล่าง (Bottom) 0.8” ,ซ้าย (Left) 1.25” และ ขวา (Right) 0.8”
- ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16 ตัวหนาจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้า
- ชื่อคณะผู้วิจัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้า ให้พิมพ์ตัวหนาและขีดเส้นใต้สำหรับชื่อผู้วิจัยหลักที่เป็นผู้เสนอผลงาน ส่วนที่อยู่ติดต่อได้ของผู้วิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรขนาดเดียวกันขนาด 12 แต่ให้อยู่ตอนล่างของหน้าในลักษณะเชิงอรรถ และแต่ละท่านไม่ควรยาวเกิน 1 บรรทัด
- บทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 15 หัวเรื่องคำว่า “บทคัดย่อ” และ “ABSTRACT” ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16 ตัวหนา เมื่อจบบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ให้เขียน Key Word และ E-mail address ขนาด 12 ทำตัวหนาเฉพาะ E-mail address ของนักวิจัยหลักไว้ เพื่อสะดวกกับการตรวจหาข้อมูลจากฐานข้อมูลนานาชาติ และสะดวกกับนักวิจัยผู้อื่นที่จะติดต่อกับนักวิจัยหลัก
- การพิมพ์เนื้อเรื่องใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 15 หัวเรื่องหลัก เช่น คำนำ, อุปกรณ์ และวิธีการ ฯลฯ ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16 ตัวหนา จัดกึ่งกลางหน้า ส่วนหัวข้อย่อย (เช่น การเตรียมตัวอย่าง, การวิเคราะห์โครงสร้างอะมิโลส ฯลฯ) ใช้ตัวอักษร Cordia New (รวมบทคัดย่อ) ขนาด 15 ตัวหนา จัดชิดซ้าย
- เนื้อหาทั้งหมดของเรื่องเต็ม (รวมบทคัดย่อ) ไม่ควรเกิน 8 หน้า กระดาษ A4
- รายละเอียดของหัวข้อหลักมีดังต่อไปนี้
- ชื่อเรื่อง : ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ชื่อผู้ทำงานวิจัย : ใช้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- สถานที่ทำงาน : ใช้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- บทคัดย่อ : (ภาษาไทยก่อน และตามด้วยภาษาอังกฤษ) เป็นการสรุปสาระสำคัญของเรื่อง โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ วิธีการ และผล (ตามตัวอย่าง)
- คำนำ : เขียนวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ตรวจเอกสาร (Literature review) เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานในส่วนสำคัญเท่านั้น
- อุปกรณ์ และวิธีการ : เขียนให้รัดกุม ไม่พรรณนาวิธีวิเคราะห์ ใช้วิธีอ้างชื่อหรือองค์กร เช่น ตรวจสอบโดยใช้วิธีของ Merk (1995) หรือใช้ตามวิธีของ AOAC (1990) เป็นต้น
- ผลการทดลอง และวิจารณ์ : ผลการทดลอง และวิจารณ์จะเขียนแยกหรือรวมกันก็ได้ รูปและตารางมีเนื้อหา และคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษให้แสดงเฉพาะข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น ผลอื่น ๆ ให้กล่าวถึงในหัวข้อผลการทดลองและวิจารณ์โดยไม่ต้องแสดงรูปหรือตาราง
- สรุป : ยกใจความสำคัญ หรือเขียนไว้ในผลการทดลองและวิจารณ์
- กิตติกรรมประกาศ : มี/ไม่มี
- เอกสารอ้างอิง : วิธีเขียนให้ดูตามตัวอย่างที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.grad.ku.ac.th/thesis/manual/sci53-chapter03.pdf
หมายเหตุ :
- ในกรณีที่มีผลการทดลองที่สำคัญมากหลายหัวข้อควรเลือกเฉพาะที่สำคัญหรือแยกเรื่องส่ง
- ในกรณีเสนอผลงานภาคบรรยายสามารถแสดงผลงาน รูป กราฟและตารางได้มากกว่าที่เสนอส่งต้นฉบับ ทั้งนี้เพื่อให้ต้นฉบับสามารถเขียนได้รัดกุมขึ้น
- ในกรณีผู้เสนอผลงานส่งผลงานเป็นภาษาอังกฤษ ยังจำเป็นต้องส่งทั้ง 2 Files ซึ่งมีบทคัดย่อภาษาไทยด้วย และให้เขียนโดยใช้รูปแบบตามตัวอย่าง
- ในกรณีผู้เสนอผลงานมีหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย และมีความประสงค์จะเพิ่มกิตติกรรมประกาศ ขอให้เขียนเพิ่มและแนบมาพร้อมผลงานวิจัย
- รับผลงานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่สำหรับผู้ที่เสนอผลงานวิจัยภาคภาษาอังกฤษ จะต้องนำเสนอผลงานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
ผู้ที่สนใจส่งผลงานทางวิชาการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 9
สามารถดูตัวอย่างได้ตามตัวอย่างผลงานประชุมวิชาการฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษ
หรือติดต่อสอบถามได้ที่ : กองบริการการศึกษา (กำแพงแสน)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โทร. 034-281095-6 ต่อ 101 , 114
โทรสาร 034-281095 ต่อ 161
E-mail address : kpsskt@ku.ac.th
ตัวอย่างผลงานประชุมวิชาการ
1. ฉบับภาษาไทย
2. ฉบับภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างโปสเตอร์
1. แบบโครงร่างผลงานด้านโปสเตอร์
2. ตัวอย่างโปสเตอร์